ธุรกิจอาหารเสริม กับ แนวโน้ม ทิศทางเศรษฐกิจ ปี 2558
เกริ่นกันก่อน – ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 293 (พ.ศ. 2548) เรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้มีการนิยามความหมายของ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ ว่าเป็น “ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ” ซึ่งมีสารอาหาร หรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ อยู่ในรูปแบบ เม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลว หรือลักษณะอื่น ซึ่งมิใช่รูปแบบอาหารตามปกติ ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพหรืออาหารเสริมที่มีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและมี สุขภาพดี กำลังได้รับความนิยมสูงในตลาดผู้บริโภค เนื่องจากอาหารเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคอ้วน และโรคหัวใจ ซึ่งแนวโน้มมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงอีกด้วย
จากแนวโน้มของการดูแลสุขภาพที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สินค้าและบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพมีการเติบโตเช่นกัน โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทั้งในกลุ่มความงามและกลุ่มวิตามิน
ข้อมูลล่าสุดจาก Euro Monitor สำรวจพบว่า ตลาดรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปี 2553 มูลค่าตลาดรวมกว่า 26,600 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มวิตามินรวมจำนวน 2,100 ล้านบาท และจะมีอัตราเติบโตอีก 5% ในปีนี้ซึ่งหากเทียบกับปี 2552 ตลาดรวมอาหารเสริมมีมูลค่าตลาดเพียง 23,600 ล้านบาท
“พฤติกรรม การบริโภคผักผลไม้ของคนไทย” กับประชาชนอายุระหว่าง 18-65 ปี ระหว่างวันที่ 3-11 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวนทั้งสิ้น 4,295 ตัวอย่าง
– คนไทยเกินครึ่ง 62.3% กินผักผลไม้ไม่เพียงพอต่อวัน
– 89% บริโภคผักผลไม้ไม่ครบทั้ง 5 สี
– 98% ไม่รู้จักสารอาหารไฟโตนิวเทรียนท์ และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
แรงขับเคลื่อนของตลาดอาหารเสริม
แรงขับเคลื่อน (drving force) ที่จะทำให้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพและกลุ่มผลิตภัณฑ์วิตามิน มีการเติบโตมากขึ้นคือ
– แนวโน้มทั้งคนหนุ่ม สาวและคนสูงอายุในประเทศไทยให้ความสนใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น
– คนสูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะอายุยืนมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในกลุ่มคนวัยทอง ผู้สูงอายุรวมถึงกลุ่มวิตามินเสริมด้านต่าง ๆ ปี 2558 นี้จะเติบโตไม่น้อย กว่า 20% เลยทีเดียว
ทั้งนี้รวมถึงตลาดสมุนไพรจากโอทอปที่มีมูลค่าเพิ่มจาก 1.2 หมื่นล้านบาทเป็น 1.4 หมื่นล้านบาทในปี 2558 ในแง่การทำตลาดผู้ประกอบการต้องมุ่งเน้นไปที่คุณภาพ สินค้าต้องผลิตจากธรรมชาติ และได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญว่าปลอดภัยและได้ผลตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพเริ่มจะแทรกตัวเข้ามาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เครื่องดื่มแบรนใหม่ๆผสมวิตามินเข้าไปกับผลิตภัณฑ์ของตัวเองและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค
ตลาดเครื่องสำอาง และ แนวโน้มปี 2558
ส่วนทางด้านตลาดเครื่องสำอาง สสว. เผย ในปี 2558 ธุรกิจด้านความงามมีแนวโน้มการเติบโตค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียว จากปัจจัยด้านความไว้ใจในสินค้าความงามไทยของจากต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญแก่การจดทะเบียนผู้ประกอบ การให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเข้าถึงการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจจากหน่วยงานภาครัฐ และจากข้อมูลของ สสว. ธุรกิจเสริมความงาม และธุรกิจอาหารจำพวก อาหารเสริม จะมาแรงในปี 2558 เนื่องจากเทรนด้านการบริการเสริมสุขภาพกำลังได้รับความนิยมและกิจการความงามยัง มีระดับรายได้สูงกว่ากิจการอื่น สำหรับแรงหนุนที่ส่งผลต่อธุรกิจความงามให้เกิดความนิยมมากขึ้นเริ่มมาจากธุรกิจการท่องเที่ยว ส่งผลให้สปาไทยเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวต่างชาติ จนเกิดความประทับใจในคุณภาพของเครื่องสำอางและสมุนไพรไทย
ปัญหาหลักๆคือ ผู้ประกอบการไทย มีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการน้อย ทำให้การประสานงานกับภาครัฐเป็นไปได้ยาก ทุกวันนี้ภาครัฐ มีการบริการต่าง ๆ มากมาย เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนถูกต้อง ส่วนอุปสรรคอีกด้านที่ผู้ประกอบการ ควรระมัดระวัง คือความเสี่ยงด้านการลงทุน และอัตราการแลกเปลี่ยน และอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก คือ เรื่องความเสี่ยงในด้านภัยพิบัติ ในต่างประเทศมีการจัดอันดับให้ไทยมีอัตราเสี่ยงการเกิดภัยพิบัติสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และในประเทศสหรัฐอเมริกามีการแนะนำว่าในช่วงธุรกิจดี ๆ ควรมีการกู้เงินทุนเก็บเอาไว้ เพื่อสำรองในยามฉุกเฉิน
อีกปัญหาที่พบบ่อยก็คือ ผู้ประกอบการหลายท่านไม่รู้วิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องภาระหนี้สิน หน่วยงาน สสว. เล็งเห็นความกังวลในส่วนนี้จึงได้จัดตั้งนโยบายช่วยในเรื่องของการวางแผนการ บริหารจัดการเงินขึ้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ สสว. เตรียมให้ มหาวิทยาลัยในเครือทั่วประเทศ เปิดบริการให้คำปรึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งแก่ผู้ประกอบการเครื่องสำอาง สมุนไพรและอาหารเสริม ทั้งเรื่องการพัฒนา Packaging ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงความช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการต้องการ