อาหารเสริมหรือเสริมอาหาร อย่างไหนกันแน่
อาหารเสริม เป็นผลิตภัณฑ์ที่เสริมสารอาหารในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ หรือช่วยบำรุงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเช่น ช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างใส ลดน้ำหนัก หรือแม้แต่ล้างพิษในร่างกาย แต่อาหารเสริมนั้นไม่ใช่อาหารหลัก ไม่สามารถทานแทนอาหารมื้อหลักได้ ซึ่งในวงการนี้จะมีคำหนึ่งที่ทำให้หลายคนสับสนกัน นั่นก็คือคำว่า อาหารเสริมหรือเสริมอาหาร ทำให้ผู้คนเกดความสับสนว่าตกลงสองคำนี้มันคือคำเดียวกันไหม แล้วตกลงต้องใช้คำไหน วันนี้โควิกจะพาไปดูกัน
อาหารเสริมหรือเสริมอาหารจะเอาอะไรกันแน่
ก่อนอื่นเราจะต้องมาทำความเข้าใจถึงคำว่า “อาหารเสริม” และ “เสริมอาหาร” ก่อนว่ามีความหมายอย่างไร ในกรณีใดจึงจะใช้คำว่า “อาหารเสริม” และในกรณีใดจึงใช้คำว่า “เสริมอาหาร”
คอมพลีเมนต์ทารีฟู้ด (complementary food) คือ อาหารเสริมตามธรรมชาติ ซึ่งจะให้ในเด็กทารกอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง ๑ ปี ให้ควบคู่กับนมแม่ หรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเพื่อให้ทารกมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดสารอาหาร
ซับพลีเมนต์ทารีฟู้ด (supplementary food) คำนี้ใช้ขยายสำหรับวัยอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะหมายถึง อาหารที่ใช้เสริมอาหารหลักในภาวะขาดสารอาหาร
คณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ได้บัญญัติศัพท์ขึ้นมา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือซับพลีเมนต์ทารีฟู้ด (supplementary food) ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่กินเพื่อเสริมอาหารหลักที่กินตามปกติ
แนวความคิดหรือความเชื่อเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
การที่คนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างแพร่หลายนั้น เกิดมาจากแนวความคิดหรือความเชื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งพอจะประมวลแนวความคิดหรือความเชื่อได้ ดังนี้
เพื่อเสริมอาหาร
กลุ่มนี้มีแนวคิดว่าอาหารที่กินอยู่นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ
เพื่อเสริมสุขภาพ
คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดใหม่ๆ มีความคิดว่าการป้องกันดีกว่าการแก้ไข ดังนั้นจึงคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะมีสุขภาพดี พยายามจะดูแลสุขภาพตนเองให้ดีที่สุด เมื่อมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกมาก็คิดว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะช่วยเสริมสุขภาพได้
กลัวโรคภัยไข้เจ็บ
เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่มักจะกลัวโรคร้ายแรง เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันเลือดสูง ฯลฯ และกลัวการรักษาทางการแพทย์ เช่น เป็นโรคมะเร็งต้องผ่าตัด ต้องฉายแสง ดังนั้นเมื่อมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดโฆษณาว่าสามารถป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ ได้ คนกลุ่มนี้ก็จะหาซื้อผลิตภัณฑ์นั้นมาบริโภค
เชื่อตามผลการวิจัยโดยไม่ได้ศึกษาติดตาม
ในต่างประเทศจะมีการวิจัยต่าง ๆ ออกมามาก พอมีผลงานวิจัยออกมาชิ้นหนึ่งก็จะมีคนผลิตสิ้นค้าออกมาขาย เช่น กระดูกอ่อนปลาฉลาม เขาพบว่า กระดูกอ่อนปลาฉลามไม่มีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยง และก้อนมะเร็งที่โตได้เพราะมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยง เขาก็มีความคิดว่าถ้าเอากระดูกอ่อนปลาฉลามมาให้คนไข้กินสารในนั้นซึ่งไม่รู้ว่าเป็นอะไรจะไปป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยเกิดขึ้นได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วมะเร็งก็ไม่โต นี้คือ สมมติฐานขั้นต้นของเขา และเขากำลังจะวิจัยต่อไปอีกว่าสารตัวนั้นคืออะไร
ในปัจจุบันก็ทราบแล้วแต่ยังวิจัยไปไม่ถึงขั้นไหน ผู้ผลิตก็พร้อมใจกันไปล่าปลาฉลามมาใส่แคปซูลขาย โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าผลงานวิจัยนั้นผิดหรือถูก คนที่มีสตางค์หน่อยก็แห่ไปซื้อมากิน ทั้งที่ราคาก็สูงมาก
หลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริง
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก่อนจะผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายได้ จะต้องขออนุญาตนำเข้าและขึ้นทะเบียน ต่อคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดย อย.จะจัดผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และห้ามมีการโฆษณาสรรพคุณ ในแง่การรักษาโรคได้ ที่ผ่านมามักมีการลักลอบโฆษณาหรืออวดอ้างสรรพคุณว่า สามารถรักษาโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคมะเร็ง อัมพาต หอบหืด ผู้บริโภคที่หลงเชื่อคำอวดอ้างดังกล่าวก็จะซื้อหาผลิตภัณฑ์นั้นมาบริโภค
เห่อตามฝรั่ง
คนไทยมักมีค่านิยมตามฝรั่ง อะไรที่เป็นของฝรั่งต้องดี เมื่อฝรั่งแนะนำว่าดีคนไทยก็ว่าดีตาม และไปซื้อหามาบริโภคตามอย่างฝรั่ง
ของที่หาได้ยากและแพงต้องดี
เช่น รังนก กว่านกแต่ละตัวจะสร้างรังได้ต้องใช้น้ำลายเท่าไร เมื่อคนไปเก็บมา นกก็ต้องสร้างรังใหม่ เพราะนกนางแอ่นจะไม่วางไข่บนรังนกชนิดอื่น บางตัวสร้างจนน้ำลายมีเลือดปน เมื่อได้มาลำบากราคาจึงต้องแพง คนบางกลุ่มจะคิดว่า ของหายาก ของแพงต้องดี หากได้กินคงดีต่อสุขภาพ
จริง ๆ แล้วความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยังมีอีกมากมาย แต่ขอนำเสนอแค่พอสังเขป ความเชื่อเหล่านี้ทำให้คนเกิดความมั่นใจผิดๆ จนไม่สนใจอาหารประจำวัน ไม่ปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพที่ดี การจะมีสุขภาพที่ดีนั้นมีปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น พันธุกรรม การออกกำลังกาย อาหาร ดังนั้นสารอาหารเพียงตัวใดตัวหนึ่งจึงไม่สามารถทำให้สุขภาพดีได้
สรุป
อาหารเสริมนั้นเป็นอาหารหลักที่ต้องทานเสริม เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร แต่สำหรับผู้ที่กำลังต้องการเสริมความแข็งแรงและป้องกันไม่ให้ร่างกายพบเจอปัญหาต่าง ๆ นั้นควรเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทั้งนี้ก็แยกกันออกแล้วใช่หรือไม่ ว่าอาหารเสริมกับเสริมอาหารต่างกันอย่างไร
โดย #โควิก โรงงานอาหารเสริมแบบ OEM รับผลิตอาหารเสริมตามความต้องการของลูกค้า พร้อมด้วยบริการแบบ One – Stop Service ที่บริการแบบครบวงจร สามารถตอบสนองความต้องการของเจ้าของแบรนด์ได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ทางโรงงานยังรับผลิตเครื่องสำอาง รับผลิตสบู่ และรับผลิตยาสมุนไพรอีกด้วย
อ้างอิง นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 224 เดือน/ปี: ธันวาคม 2540 คอลัมน์: บทความพิเศษ