SHELF LIFE
ถ้าคุณเป็นคนที่สนใจเกี่ยวกับอาหารเสริม , ยา , เครื่องสำอาง คงเคยได้ยินกันบ่อยๆกับคำว่า Shelf Life หรือ อายุการเก็บของผลิตภัณฑ์
นิยามของอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ อายุผลิตภัณฑ์ (Shelf life) หมายถึง สภาวะต่างๆ ที่ใช้ในการแปรรูปและการเก็บอาหาร อาจมีผลต่อ คุณภาพของอาหารภายหลังการเก็บในช่วงเวลาหนึ่ง โดยลักษณะทางคุณภาพเมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่ต้องการ อาจมีหนึ่งลักษณะหรือมากกว่าที่ระบุว่า อาหารนั้นไม่เหมาะสําหรับการบริโภค และกล่าวได้ว่าอาหารนั้นหมดอายุการเก็บ (รุ่งนภา, 2548) นอกจากนี้ อายุการเก็บผลิตภัณฑ์ยังหมายถึงระยะเวลา ที่คุณสมบัติของอาหารยังคงเป็นที่ยอมรับได้ของลูกค้า ผู้ผลิตอาหารต้องรับผิดชอบว่าอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ของตนนั้นต้องไม่สั้นกว่าวันหมดอายุ (Expiring Date) ที่ประทับไว้บนผลิตภัณฑ์ (Martins et al., 2008)
ความสำคัญของการหาอายุผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำสดและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำเป็นส่วนหนึ่งที่ตลาดทั่วโลกให้ความสำคัญ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากปลายังเกิดการเน่าเสียได้ง่าย (Xian-shi et al., 2004) ทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค การพัฒนาวิธี การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์หรือการแปรรูปจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ สามารถเก็บรักษาได้นานและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการแล้ว สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคยอมรับผลิตภัณฑ์อีกอย่างหนึ่ง คือ อายุการเก็บผลิตภัณฑ์ เนื่องจากจะทำให้ผู้บริโภคสามารถ ทราบวันเดือนปีที่สามารถเก็บผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ การศึกษาอายุการเก็บ คือ เพื่อคงคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่ต้องการภายใต้สภาวะการเก็บ และการขนส่งหนึ่งๆ โดยอายุการเก็บของอาหารต่างๆ มีความแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับ สภาวะการแปรรูปต่างๆ ในโรงงาน (HACCP, GMP) และอุณหภูมิ การเก็บ (รุ่งนภา, 2548)
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยปกติแล้วการเปลี่ยนแปลงในขณะเก็บรักษาเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะ ปรากฏ ความคงตัว กลิ่นรส กลิ่นและเนื้อสัมผัส การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสำคัญมากในการวิเคราะห์อายุการเก็บผลิตภัณฑ์ คุณลักษณะทางประสาท สัมผัสของอาหารทุกชนิดจะเปลี่ยนไปเมื่อเก็บรักษา อาจเกิดขึ้นได้เร็วมาก เช่น ในผลิตภัณฑ์สด เป็นต้น หรืออาจเกิดขึ้นได้ช้ามาก เช่น อาหารกระป๋อง เป็นต้น อายุการเก็บผลิตภัณฑ์เป็น ค่าที่ประมาณได้ยาก เนื่องจากถ้าใช้วิธีทดสอบอายุการเก็บตามหลักการคือ บรรจุอาหารตามเงื่อนไขการผลิต ตั้งไว้ในสภาวะที่ ต้องการ หาค่าอายุการเก็บจริง กำหนดค่าช่วงเวลาของการทดสอบแล้วนำตัวอย่างอาหารมาตรวจวัดค่าตัวแปรที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพ ติดตามดูเวลาเก็บ เท่าใดที่ทำให้อาหารที่บรรจุเสื่อมสภาพ แต่การทดลองดังกล่าวให้เวลายาวนานและหากต้องการตรวจผลิตภัณฑ์ในปริมาณมาก เวลาที่ใช้ในการทดลองใน แต่ละสภาวะจะเพิ่มมากขึ้นและในทางอุตสาหกรรมไม่สามารถรอผลการทดลองยาวนานได้ ดังนั้นจึงมีการทดลองในสภาวะเร่ง โดยทดสอบการเก็บตัวอย่าง ผลิตไว้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเรียกว่า การทดสอบในสภาวะเร่ง (Accelerated Shelf Life Test, ASLT) (อัมพวา, 2550)
Shelf Life
เนื่องจากเห็นว่าสาวๆหลายคนจะสับสนและสงสัยเรื่องอายุการใช้งาน หรือ shelf life ของสกินแคร์และ เครื่องสำอาง
รูปตัวอย่างสัญลักษณ์ที่บ่งบอกอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
MFD …. = Manufactured Date = วันที่ผลิต
Exp Date = Expiry Date = วันหมดอายุ
ทั่วๆไปแล้วผลิตภัณฑทั้ง skincares ต่างๆ และ cosmetics จะมี shelf life ไม่เกิน 3 ปี
ตัวอย่างการนับคร่าวๆ
สมมติ ผลิต Jan 2004
กรณีที่ 1 ถ้าไม่เคยเปิดมาเลย (ครีมไม่มีโอกาสสัมผัสกับอากาศ)
ก็จะสามารถนำมาใช้ได้ไปจน Dec 2007
กรณีที่ 2 เปิดใช้ครั้งแรก หรือมีการเปิดดม หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้ครีมสัมผัสกับอากาศ
ก็จะมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 12 เดือน นับจากวันที่เปิดฝาครั้งแรก
สมมติเปิดฝามาดม Sep 2005 ก็จะใช้ได้จนถึง Aug 2006
ครีมบางตัวอาจจะอยู่ได้ถึง 18 เดือน แต่ก็มีน้อยมาก (ให้นับแบบเดียวกับข้างบน)
แต่!
จะมีครีมบางตัวที่มี shelf life สั้นกว่านั้น รวมไปถึงเครื่องสำอางต่างๆด้วย โดยเฉพาะที่มีลักษณะเป็นของเหลว
เช่น
– มาสคาร่า 3-6 เดือนหลังจากสัมผัสอากาศครั้งแรก (และ 2 ปีจากวันผลิตถ้าไม่มีการเปิดใช้)
– รองพื้นชนิดครีม หรือแบบเหลว 12-18 เดือน (และ 2 ปีจากวันผลิตถ้าไม่มีการเปิดใช้)
– บลัชออนชนิดครีม แบบเหลว หรือแบบสติ๊ก 12 เดือน (และ 2 ปีจากวันผลิตถ้าไม่มีการเปิดใช้)
– คอนซีลเลอร์ 6-12 เดือน (และ 2 ปีจากวันผลิตถ้าไม่มีการเปิดใช้)
ทั้งนี้ทั้งนั้นองค์ประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือ อุณหภูมิและวิธีการเก็บค่ะ
ถ้าเก็บในที่ร้อน และถูกแสงแดดส่องโดยตรงก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์ตัวนั้นๆเสื่อมสภาพไวขึ้นด้วย