รู้จักโพรไบโอติก สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่จำเป็นกับสุขภาพ
ในร่างกายของคนเรานั้นมีเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรียเหล่านั้นมีประโยชน์กับร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะจะเข้าไปช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีการพูดถึงมากที่สุดก็คือ โพรไบโอติก (Probiotic) โดยวันนี้ทาง Kovic จะไปรู้จักกับโพรไบโอติก สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่จำเป็นกับสุขภาพ
โพรไบโอติก คืออะไร
โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กซึ่งจัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี สามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารให้คำจำกัดความว่า โพรไบโอติกคือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่าง ๆ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเนื้อเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้”
โพรไบโอติกและพรีไบโอติกต่างกันอย่างไร
มีผู้บริโภคหลายคนสับสนกับ 2 คำนี้ และเกิดความสงสัยว่ามันก็คืออย่างเดียวกันหรือคนละอย่าง อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า โพรไบโอติก (Probiotic) นั้นเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยในการย่อยพรีไบโอติกเพื่อกระตุ้นการทำงานของแบคทีเรียชนิดนี้ในลำไส้ และช่วยให้แบคทีเรียที่ดีในลำไส้เจริญเติบโต
ส่วน พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติก ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย พบได้หัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ พรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกพรีไบโอติกก็จะช่วยส่งเสริมฤทธิ์โพรไบโอติกได้ดียิ่งขึ้น
ทำไมเราถึงควรได้รับโพรไบโอติกส์เสริม
โพรไบโอติกจัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ Normal Flora อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย จุลินทรีย์ประจำถิ่นลำไส้ถูกรุกราน อาจเกิดผลกระทบตามมาได้
หากร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ยาเหล่านี้ส่งผลให้จุลินทรีย์ในร่างกายมีจำนวนลดลง เมื่อร่างกายมีการรับเชื้ออื่นซึ่งอาจก่อโรคเข้ามา อาจมีโอกาสสูญเสียจุลินทรีย์ดีในร่างกายได้ ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง Normal Flora และร่างกายนั้นจึงมรความสำคัญ ซึ่งการรับประทานโพรไบโอติกจึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดี และรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย
โพไบโอติก มีกี่กลุ่ม
โพรไบโอติกนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้
- แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เป็น แบคทีเรียชนิดดีในกลุ่มของโพรไบโอติกที่พบได้มากที่สุด โดยสามารถพบได้ในอาหารจำพวก โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดองต่าง ๆ ดีต่อระบบขับถ่าย และดีต่อผู้ที่มีประสบปัญหาไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้
- ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ได้รับการจัดว่าเป็นหนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ดีที่สุด สามารถพบได้ในอาหารจำพวกผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน
นอกจากจุลินทรีย์สองกลุ่มใหญ่แล้ว อีกส่วนหนึ่งของโพรไบโอติกก็ยังเป็นเชื้อยีสต์ ได้แก่ แซคคาดรไมซิส (Saccharomyces boulardii) เป็นยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มของโพรไบโอติก มีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และบรรเทาอาการปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบทางเดินทางอาหาร
บทบาทของโพรไบโอติกในร่างกาย
โพรไบโอติกมีบทบาทมากมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ในร่างกายดังนี้
- ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย
- กระตุ้นระบบการย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลากหลายชนิด
- ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป
- เหนี่ยวนำการกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุลได้
โพรไบโอติกมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
จากการศึกษาพบว่าโพรไบโอติกมีประโยชน์ในการรักษาหรือช่วยบรรเทาความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายเช่น
- โรคระบบทางเดินอาหาร อาการลำไส้แปรปรวน, กรดไหลย้อน, ท้องผูก, ท้องร่วงจากการติดเชื้อ, ท้องร่วงอันเกิดจากการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน, ภาวะไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโตส
- โรคภูมิแพ้ ผื่นผิวหนัง, ภูมิแพ้อากาศ
- โรคทางอวัยวะสืบพันธุ์ ภาวะติดเชื้อในช่องคลอด, ช่องคลอดแห้งหลังหมดประจำเดือน
- โรคทางเดินปัสสาวะ ภาวะติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ
ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายมากขึ้น โดยมีการปรับสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เหมาะสมและเสริมฤทธิ์กันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโพรไบโอติก โดยประเภทและสายพันธุ์ของโพรไบโอติกที่ต่างกันล้วนมีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาที่แตกต่างกันออกไป
อาการข้างเคียงที่อาจพบได้หลังจากรับประทานโพรไบโอติก
ส่วนใหญ่มักพบเมื่อมีการรับในขนาดที่สูงเกินไป โดยอาจจะทำให้เกิดภาวะลมในท้องเพิ่มขึ้น เกิดท้องอืดหรือแน่นท้องได้
สรุป
เพื่อช่วยดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น การรับประทานโพรไบโอติก จึงเป็นตัวเสริมในการซ่อมแซมสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น แต่การซ่อมแซมร่างกายให้ได้ผลและยั่งยืนที่สุดคือการจัดการปัญหาที่ต้นเหตุ และปรับสมดุลในการใช้ชีวิต โดยการทานอาการที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยบำรุงสุขภาพได้อย่างแท้จริง
แหล่งที่มา
www.bumrungrad.com
medthai.com
โควิก เคทท์ เป็นโรงงานผลิตอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตเครื่องสำอาง สกินแคร์ ยาสมุนไพรและสารสกัดสมุนไพร ที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี
บริการผลิตอาหารเสริมครบวงจร ที่มีคุณภาพสูง มีความปลอดภัยและมาตรฐานที่ดีเยี่ยม เพื่อให้คุณลูกค้าได้เป็นเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในรูปแบบที่ง่ายและไม่ต้องลงทุนสูง
จากแนวคิด Complete OEM Health & Beauty Ecosystem โควิก เคทท์ ได้นำความเชี่ยวชาญ การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติและสมุนไพร มาต่อยอดเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพของสินค้าต่อผู้บริโภคให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่สนใจผลิตอาหารเสริมกับทาง #KovicKate ติดต่อได้ที่
โทร : 02-521-7888