ส่องเทรนด์บรรจุภัณฑ์ปี 2021 จากนักออกแบบไทยฝีมือระดับโลก
บรรจุภัณฑ์ หรือ Packaging ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจเติบโต เพราะนอกจากบรรจุภัณฑ์นั้นจะทำหน้าที่ห่อหุ้มปกป้องสินค้า ให้ไปสู่มือผู้บริโภคอย่างปลอดภัยแล้วนั้น บรรจุภัณฑ์ยิ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นยอดขาย เพราะอย่างที่รู้กันว่าในปัจจุบันแค่คุณภาพของสินค้านั้นไม่ใช่เรื่องเดียวที่ผู้บริโภคต้องการแล้ว การมีภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดีก็มีส่วนสำคัญในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องสำอาง
เนื่องจากธุรกิจนี้มีการแข่งขันอย่างดุดันให้ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นแบรนด์ที่มีเพียงผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ แต่ไม่มีภาพลักษณ์ที่น่าดึงดูดและจดจำ ก็อาจจะเสียยอดขายให้กับแบรนด์ที่ภาพลักษณ์สวย น่าสนใจ ดึงดูดและมีคุณภาพของผลิตภัณฑ์ดีได้ ด้วยเหตุเหล่านี้จึงทำให้บรรจุภัณฑ์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างแบรนด์ ทั้งการสร้างภาพลักษณ์ ความน่าสนใจ การดึงดูดสายตา ไปจนถึงการส่งสารจากเจ้าของแบรนด์ไปยังผู้บริโภคได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย
ส่องเทรนด์ออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging Design Trends 2021
ในปี 2021 นี้เทรนด์บรรจุภัณฑ์มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง การเติบโตของบรรจุภัณฑ์ในไทยจะไปในทิศทางไหน และอะไรคือเทรนด์ต่อเนื่อง อะไรคือเทรนด์ใหม่ ไปฟังการวิเคราะห์ 8 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ไททยปี 2564 จาก แชมป์ – สมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์มือรางวัลกว่า 99 รางวัลในเวทีโลก เจ้าของบริษัท Prompt Design
จากปีที่ผ่านมา คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ได้คาดการณ์เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ในปีที่ผ่านมาได้อย่างแม่นยำ เพราะเขาได้ทดลองและทอสอบผลลัพธ์เองกับมือ เนื่องจากประเทศไทยนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเราไม่สามารถนำเทรนด์ต่างประเทศมาใช้ได้แบบตรงไปตรงมา แต่ในปีนี้ คุณสมชนะ ก็ได้ทดลองและทดสอบอีกเช่นเคย โดยผลลัพธ์ที่ได้นั้นยังคงมีบางข้อของเทรนด์เดิม ซึ่งยังคงดำเนินต่อไป และอีกบางข้อที่เลือกเข้ามาใหม่ จะเป็นอย่างไรนั้น ทาง Kovic ได้นำบทวิเคราะห์นั้นมาฝากทุกท่านกัน
Sustainable ต้องลงลึกมากขึ้น
บรรจุภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากปี 2562 ที่ผ่านมาแบรนด์ระดับโลกเกือบทุกแบรนด์ รวมถึงแบรนด์ใหญ่ในไทยเองก็เริ่มชูสิ่งแวดล้อมมาขับเคลื่อนชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ต่าง ๆ จะนำมาใช้บ้าง ต้องคิดมิติให้ลึกซึ้งกว่าที่เคยเป็นมา
โดยไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนวัสดุบรรจุภัณฑ์แต่อย่างเดียวต่อไปอีกแล้ว แต่ต้องให้ความสำคัญกับทั้งบริบทและกระบวนการทำธุรกิจจะสามารถชนะใจผู้บริโภคได้ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ลดขยะให้เป็นศูนย์ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการทำ Carbon Footprint เพื่อแสดงข้อมูลปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของธุรกิจ จนสุดท้าย คือ การจัดเก็บเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หากเจ้าของแบรนด์อยากทำให้แตกต่าง ต้องคิดให้ลึกและครบ
Minimalist เมื่อข้อมูลมีมากเกินไป
ในปีนี้เราอาจได้เห็นคำว่า Bold and Clear เพื่อนำมาใช้ในงานดีไซน์ให้เรียบง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ความชัดเจน แต่สำหรับในปีหน้าที่จะถึงนี้ เราจะใช้คำว่า Minimalist ในปัจจุบันโลกแห่งการสื่อสารจะต้องเร็วและง่ายขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากทุกวันนี้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่โอเวอร์โหลดมากเกินไป ไม่ว่าจะออนไลน์ หรือออฟไลน์ก็ดี
ดังนั้นการสื่อสารต่อไปเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด คือทุกอย่างจะต้องมินิมอลที่สุด เพราะผู้บริโภคคงไม่มีเวลามากในการเสพข้อมูลเพิ่มขึ้น ดังนั้นเราควรศึกษาสาระสำคัญของผลิตภัณฑ์เอาไว้ อะไรที่ไม่จำเป็นก็ต้องตัดออก ต้องให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในทันที
Online Packaging โตตามคลื่น E-Commerce
Online Packaging เป็นเทรนด์ที่ยังต้องมีต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเทรนด์คลื่นใหญ่ของโลก ซึ่งผู้บริโภคทุกวันนี้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาสั่งของออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นการจะทำบรรจุภัณฑ์ให้สามารถตอบโจทย์เทรนด์นี้ได้ คำว่า “Unboxing Experience” หรือประสบการณ์การแกะกล่องต้องมาแล้ว
โดยนอกจากการจัดส่งสินค้าใส่กล่องหรือพัสดุเรียบร้อยแล้ว ควรมีการใส่ Message อะไรสักอย่างเข้าไปด้วย รวมถึงดีไซน์ เพื่อสร้างความแตกต่าง เพื่อให้ผู้บริโภคแยกออกระหว่างกล่องทั่วไปกับการจัดส่งของแบรนด์ที่มาจากความตั้งใจพิถีพิถันในการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค เพื่อแสดงถึงความขอบคุณที่เขามาเป็นลูกค้าเรา สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจในแบรนด์ได้
Different Shape โดดเด่นด้วยรูปทรงที่แตกต่าง
ปัจจุบันบ้านเรามีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตสินค้านวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร สินค้าอุปโภคต่าง ๆ ดังนั้นแล้วหากเป็นสินค้านวัตกรรมที่มีการคิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่ยังคงใช้บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบเดิม ๆ ผู้บริโภคคงแยกไม่ออกว่า ตัวไหนคือสินค้านวัตกรรมใหม่ ตัวไหนคือสินค้ารูปแบบเดิมที่มีอยู่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ น้ำดื่มวิตามินต่าง ๆ ที่บางยี่ห้อมีการทำออกมาเป็นลักษณะขวดเตี้ย ๆ ป้อม ๆ ทำให้ผู้บริโภคเห็นแล้ว สามารถแยกออกได้ทันที ดังนั้นการจะสร้างความแตกต่างของบรจุภัณฑ์ให้เกิดขึ้นได้ ณ วันนี้แค่เพียงฉลากอย่างเดียวอาจไม่พอแล้ว ต้องลงลึกไปถึงการออกแบบรูปร่างและลักษณะของบรรจุภัณฑ์ด้วย
Influencer Collaboration : คน X แบรนด์
เรื่องของการ Collaborate หรือร่วมมือกันในการทำธุรกิจยังมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง แต่จะเปลี่ยนจากการจับมือระหว่างแบรนด์หรือธุรกิจด้วยกันเองมาเป็นการจับมือระหว่างแบรนด์ และ Influencer หรือบุคคลที่เป็นผู้นำทางความคิดในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากเหล่าบรรดา Influencer ต่าง ๆ เหล่านั้นล้วนมีฐานแฟนคลับเป็นของตัวเองมากจำนวนหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็น Micro Influencer (ยอดผู้ติดตาม 5,000 – 100,000 คนขึ้นไป) หรือ Marco Influencer (ยอดผู้ติดตาม 100,000 คนขึ้นไป) ซึ่งเมื่อแบรนด์มีการจับมือร่วมกับ Influencer ต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะได้ฐานแฟนคลับไปด้วย
Smart Packaging ช้าหน่อย แต่มาแน่
เป็นอีกเทรนด์ที่ในต่างประเทศมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว แต่สำหรับในบ้านเรายังมีให้เห็นน้อยอยู่ แต่ถึงยังไงก็คงเป็นเทรนด์ที่มาแน่นอน แต่จะเริ่มแคบลงและจับต้องได้ง่ายขึ้น โดยจะเริ่มจากง่าย ๆ ที่คิวอาร์โค้ดก่อน จากนั้น AR จึงจะเริ่มเข้ามา แต่สำหรับในเมืองไทยคงต้องรอเวลาอีกสักพัก ยังไม่ค่อยมีแบรนด์ไหนนำมาใช้ เพราะต้องรอให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการเหล่านี้เยอะขึ้นก่อน
Design for Good สร้างแบรนด์ให้เป็นคนดี
Design for Good ในที่นี้หมายถึงการสร้างแบรนด์ให้ดูเป็นคนดี มีการทำเพื่อสังคมด้วย ไม่ใช่เพื่อตัวเองอย่างเดียวเสมอไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่ผ่านมา คือการทำงานร่วมกันของน้ำดื่มสิงห์และมูลนิธิกระจกเงาที่ออกฉลากเป็นหน้าคนหาย ซึ่งเริ่มทำไปเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา
Universal Design รองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์
ปัจจุบันไทยเรานั้นถือเป็นประเทศที่ติดอันดับมีปริมาณผู้สูงอายุเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชีย ดังนั้นสิ่งที่เราต้องเจออย่างแน่นอนในอนาคต ซึ่งในปีหน้าที่จะถึงนี้ก็จะได้เห็นความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในมุมของบรรจุภัณฑ์สิ่งที่ต้องคิดถึงผู้บริโภคมากขึ้นก็คือ ลักษณะทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสีที่ดูสบายตา ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัดเจน การเปิด – ปิดที่ง่ายขึ้น
อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์กับผู้สูงอายุ คือ ทุกคนไม่อยากแก่ ดังนั้นหากสินค้านั้นผู้ใช้สินค้าเป็นผู้เลือกซื้อเอง ห้ามใส่รูปคนแก่เข้าไปเด็ดขาด แต่หากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุประเภทผู้ป่วยติดเตียง ผู้ใช้ไม่ได้มาเลือกซื้อด้วยตัวเอง เราสามารถใส่ลายการ์ตูนคนแก่น่ารัก ๆ ลงไปได้
นอกจากนี้ในเรื่องของดีไซน์ควรบ่งบอกถึงความพรีเมี่ยม เนื่องจากผู้สูงอายุเหล่านี้เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความพร้อมทั้งชื่อเสียง สถานะทางสังคม และเงินทาง ถึงแม้วันนี้อาจจะยังไม่ค่อยเห็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะมากเท่าไหร่นัก แต่ในอนาคตเร็ว ๆ นี้จะได้เป็นแน่นอน
สรุป
การออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น นอกจากความสวยงาม น่าสนใจและดึงดูดสายตาแล้วนั้น การใช้ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ก็เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถึงแม้ว่าบรรจุภัณฑ์จะสวยน่าใช้แค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าหากผู้บริโภคซื้อไปแล้วเกิดปัญหาในการใช้อย่างเช่นการเปิด – ปิดที่ลำบาก ความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ไม่สามารถสร้างยอดขายได้
แหล่งที่มา : www.brandbuffet.in.th
โควิก เคทท์ เป็นโรงงานผลิตอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตเครื่องสำอาง สกินแคร์ ยาสมุนไพรและสารสกัดสมุนไพร ที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี
บริการผลิตอาหารเสริมครบวงจร ที่มีคุณภาพสูง มีความปลอดภัยและมาตรฐานที่ดีเยี่ยม เพื่อให้คุณลูกค้าได้เป็นเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในรูปแบบที่ง่ายและไม่ต้องลงทุนสูง
จากแนวคิด Complete OEM Health & Beauty Ecosystem โควิก เคทท์ ได้นำความเชี่ยวชาญ การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติและสมุนไพร มาต่อยอดเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพของสินค้าต่อผู้บริโภคให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่สนใจผลิตอาหารเสริมกับทาง #KovicKate ติดต่อได้ที่
โทร : 02-521-7888