การตลาดออนไลน์หลังยุค โควิด-19

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นหนึ่งในตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงผู้ประกอบการที่มีช่องทางการตลาดแบบมีหน้าร้านทั่วไปเจอผลกระทบหนัก จึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด คือ การทำตลาดออนไลน์ การตลาดแบบ Delivery ถึงบ้าน   ในอนาคตทิศทางการตลาดหลังโควิด-19 จะดำเนินไปในรูปแบบไหน  และเติบโตอย่างไร

การเติบโตของตลาดออนไลน์หลังยุค โควิด-19

ในช่วงโควิด-19  ครึ่งแรกปี 63  ยอดขายในตลาดออนไลน์ภาพรวมทั่วโลกเติบโต 19% , สหรัฐอเมริกา เติบโต 68% ,จีน เติบโต 50% สอดคล้องกับข้อมูลจากลาซาด้า (Lazada) ในประเทศไทยพบว่า ในช่วงครึ่งปีแรก 2563 ที่ผ่านมา ผู้ขายและแบรนด์บนลาซาด้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เวลาบนแพลตฟอร์มลาซาด้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 30% ในช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์ (กลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม)

ลาซาด้ายังได้คาดการณ์อีกด้วยว่า ภายในสิ้นปี 2563 นี้ ตลาดออนไลน์ในประเทศไทยจะมีมูลค่ากว่า 2.2 แสนล้านบาท เติบโตขึ้นราว 35% จากปี 2562 ส่วนกลยุทธ์ที่ลาซาด้าจะเน้นต่อจากนี้คือ ‘Shoppertainment’ ที่จะนำความบันเทิงเข้ามาผนวกรวมกับการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น การไลฟ์สตรีมมิง เล่นเกม เพื่อสร้างเอ็นเกจเมนต์ระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และแพลตฟอร์ม

การตลาดออนไลน์  จะมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น 

เช่นรูปแบบ Social E-commerce   หรือ Public Market Place เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มี Facebook  “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ซึ่งเป็นสถาบันไม่หวังผลกำไร ความแตกต่างระหว่าง Market Place ทั่วไป กับ Public Market Place  คือต้นทุน กับ กฎระเบียบข้อปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน

การแจ้งเกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ ในตลาดออนไลน์ เช่น บริการให้คำปรึกษาทางการแพทย์โดยหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยไม่ต้องพบตัวกัน  เช่น  www.doctorraksa.com ปรึกษาอาการโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่ทำให้กังวลได้ทุกที่  ไม่เสียเวลาในการเดินทางไปพบคุณหมอในแต่ละครั้ง คุณหมอสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นในการปฏิบัติตัวและสามารถติดตามผลการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ยังมีระบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ เก็บผลเอ็กซ์เรย์ โรคประจำตัว ประวัติการรักษา การแพ้ยา ไว้บนคลาวด์ ไม่หาย ไม่ต้องท่องจำ มีประโยชน์เมื่อยามฉุกเฉิน และมีการเก็บประวัติการให้คำปรึกษาแบบอิเล็กทรอนิคไว้บนแอพ เมื่อคุณปรึกษาoคุณหมอผ่านแอพรักษา คุณหมอจะทำสรุปผลการปรึกษาให้  สรุปผลดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ในบัญชีของคุณโดยอัตโนมัติ สามารถเปิดดูได้ตลอดเวลา   เมื่อจบการให้คำปรึกษาจะมีแบบสอบถามประเมินผู้เป็นแพทย์เพื่อนำไปพัฒนาการให้บริการภายในหลังอีกด้วย

ยังมีธุรกิจอีกมากมายที่ปรับตัวหลังโควิด-19  จะกล่าวถึง ธุรกิจธนาคารเองก็มีการให้บริการ Delivery ซึ่งตอนนี้มี 2 ธนาคารที่เริ่มทำเพื่อการเก็บข้อมูลลูกค้า  และให้บริการสินเชื่อตามมาภายหลัง  หรือแม้แต่การขายเพชรแต่งงานออนไลน์ซึ่งเดิมเพชรเหล่านี้จะซื้อเพียงครั้งเดียวในชีวิตควรจะเห็นด้วยตาก่อนตัดสินใจซื้อ ประกอบกับมีมูลค่าสูง แต่ด้วยพฤติกรรมลูกค้าในปัจจุบันเริ่มคุ้นชินกับการซื้อออนไลน์ ดังนั้นการซื้อเพชรแต่งงานออนไลน์จึงไม่ใช่เรื่องแปลกต่อไปในยุคนี้แล้ว

ตลาดออนไลน์ ช่วยลดต้นทุนอะไรได้บ้างจากการตลาดแบบเดิม

ตุ้นทนที่ลดลงได้แก่ การเก็บสต็อก  จำนวนพนักงาน  ค่าเช่าพื้นที่  แต่สิ่งที่เป็นต้นทุนเพิ่มคือ คือทักษะการทำตลาดออนไลน์  การตลาดออนไลน์  ทำให้รูปแบบการผลิตเปลี่ยนเพราะการตลาดออนไลน์เราจะได้ข้อมูลค่อนข้างครบแล้ว   การผลิตต้องตอบสนองความต้องการลูกค้า

การแจ้งเกิดในตลาดออนไลน์  ต้องทำอย่างไร ?

ประกอบด้วย

  1. การตลาดออนไลน์จำเป็นต้องมีข้อมูลลูกค้า ลูกค้าเราอยู่ตรงไหน ? ลูกค้ามีพฤติกรรมอย่างไร?  
  2. เลือก Platform ที่ถูกต้อง เราจะอยู่บน Platform ไหนซึ่งเป็น Platform เดียวกับที่ลูกค้าเราอยู่ เช่น  ถ้าลูกค้าเราอยู่ใน Platform TIKTOK  เราก็เข้าไปอยู่ใน Platform TIKTOK

ไม่มีคำตอบสุดท้าย ในการทำการตลาด  เพราะการตลาดคือการตอบสนองความต้องการลูกค้า  ซึ่งแน่นอนมีความต้องการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ดังนั้นการทำตลาดก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาไม่มีคำตอบสุดท้าย

  1. พิจารณาเรื่องสินค้า (Product)และราคา (Price) ให้ตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าและสามารถแข่งขันได้
  2. จะสื่อสารอย่างไร (How to Communication?)

หลัก 4 P’  =  Product Price Place Promotion ของ ฟิลิป คอตเลอร์   ยังคงเป็นหลักการตลาดพื้นฐาน ในการทการตลาดทุกยุคทุกสมัย  ไม่มีคำตอบสุดท้ายในการทำการตลาด  เพราะการตลาดคือการตอบสนองความต้องการลูกค้า  ซึ่งแน่นอนมีความต้องการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ดังนั้นการทำตลาดก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเช่นกัน

ปัจจุบัน การตลาดออนไลน์ในส่วนองค์ประกอบด้าน Delivery  และ Payment   ยังไม่สมบูรณ์มากนักเนื่องจากลูกค้าใช้งานแล้วยังมีความสับสนหรือไม่เชื่อมั่น ลูกค้ายังรู้สึกไม่พอใจ ยังรู้สึกเป็นปัญหา ยังถือว่าไม่สมบูรณ์แบบ  ซึ่งยังถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายของนักการตลาดในยุคดิจิทัล ต่อไป

ในอนาคตการตลาดจะไปในรูปแบบไหน?

ในอนาคตการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จะอยู่ด้วยกันอย่าง Balance มากขึ้น ไม่มีอะไรล้มหายตายจากอย่างสิ้นเชิง  การตลาดในอนาคตจะเป็นรูปแบบ Omni Channel ต้องพึ่งพิงทั้งช่องทางการตลาด online และ offline  ซึ่งจะพึ่งพิงอันไหนมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมลูกค้า ลักษณะสินค้า ทิศทางเทคโนโลยีในอนาคต    จะเห็นได้ว่า แม้แต่ Amazon ผู้นำใน Market Place บนแพลตฟอร์มออนไลน์ยังหันกลับมาทำ Shop หน้าร้าน ชื่อ Amazon Go  แต่มีรูปแบบไม่เหมือนโชว์ห่วย หรือ Moderntrade ปกติทั่วไป   มีการนำระบบการจ่ายเงินแบบไม่ต้องใช้พนักงานมาทำงาน นำระบบ AI (Artificial Intelligence) มาใช้ในปฎิบัติการหน้าร้านมากขึ้น   เป็นต้น 

สรุป

ไม่มีคำตอบสุดท้าย ในการทำการตลาด  เพราะการตลาดคือการตอบสนองความต้องการลูกค้า  ซึ่งแน่นอนมีความต้องการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ดังนั้นการทำตลาดก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาไม่มีคำตอบสุดท้าย

โดย #โควิก โรงงานอาหารเสริมแบบ OEM รับผลิตอาหารเสริมตามความต้องการของลูกค้า พร้อมด้วยบริการแบบ One – Stop Service ที่บริการแบบครบวงจร สามารถตอบสนองความต้องการของเจ้าของแบรนด์ได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ทางโรงงานยังรับผลิตเครื่องสำอาง รับผลิตสบู่ และรับผลิตยาสมุนไพรอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง

รายการฟังหูไว้หู ช่อง 9 อสมท. การตลาดออนไลน์ยุคโควิด-19 วันที่ 7 กรกฎาคม 2563

https://blog.readyplanet.com/17411394/integrated-platform-for-b2b

https://thestandard.co/

TOP